เทคโนโลยีชีวภาพ

    สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจัดการเรียนการสอนใน 2 กลุ่มวิชา คือ เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม  และเทคโนโลยีภาพเกษตร โดยสามารถนำความรู้ที่ได้ประยุกต์ใช้ในการสร้างงานและอาชีพของชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาอาหารหมักและเครื่องดื่มจากวัตถุดิบในชุมชน การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้มีผลผลิตที่สูงขึ้น โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผลิตสกัดสารที่มีประโยชน์จากสมุนไพร การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี การบำบัดและการใช้ประโยชน์ของเสียจากอุตสาหกรรม รวมถึงพลังงานทดแทน

หลักสูตร

       :: วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
           Bachelor of Science (Biotechnology)
       :: วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
       :: B.S. (Biotechnology)

จุดเด่นของหลักสูตรกิจกรรมระหว่างการศึกษาอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

1. เน้นการเรียนการสอนให้นิสิต
มีองค์ความรู้ทางด้าน
เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อใช้ในการ
พัฒนาอาชีพเกษตรแบบ
ผสมผสาน

2. นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ไปใช้ประยุกต์ในการปรับปรุง
การผลิตหรือสร้างผลิตภัณฑ์
ใหม่จากวัสดุเหลือทิ้งทาง
การเกษตรและอุตสาหกรรม

3. ใช้ความรู้เทคโนโลยีชีวภาพ
เพื่อการใช้ประโยชน์จาก
จุลินทรีย์รวมถึงปรับปรุง
พันธุ์จุลินทรีย์

4. ใช้ความรู้เทคโนโลยีชีวภาพ
สมัยใหม่ด้านดีเอ็นเอเพื่อการ
ตรวจสอบผลิตภัณฑ์

1. ศึกษาดูงานนอกสถานที่
เพื่อให้เห็นความสอดคล้องกับ
เนื้อหารายวิชาที่จัดการเรียน
การสอน

2. ฝึกปฏิบัติจากแหล่งเรียนรู้
จริงทั้งในชุมชน หน่วยงานวิจัย
ทั้งภาครัฐและเอกชน

3. ฝึกทำโครงงานปัญหาพิเศษ
ทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อได้ใช้
ทักษะความรู้ที่ได้รับจากการ
เรียนมาแก้ปัญหาชุมชนและ
สังคม


1. นักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์
ด้านเทคโนโลยีชีวภาพใน
หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

2.พนักงานฝ่ายผลิตและ
ควบคุมคุณภาพในโรงงาน
อุตสาหกรรม

3. นักส่งเสริมการตลาดและ
การขายผลิตภัณฑ์และ
เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

4. ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น
ผลิตภัณฑ์อาหารหมักและ
เครื่องดื่ม การเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  คุกกี้