รศ.ดร.โชค โสรัจกุล หัวหน้าทีมวิจัย คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ม.พะเยา ร่วมสรุปประเด็นสำคัญของนวัตกรรมที่ใช้ในฟาร์มและเกิดผลลัพธ์เป็นที่ประจักษ์ การเลี้ยงโคขุนต้นทุนต่ำด้วยการนำวัสดุการเกษตรในพื้นที่

500 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รศ.ดร.โชค โสรัจกุล หัวหน้าทีมวิจัย คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ม.พะเยา ร่วมสรุปประเด็นสำคัญของนวัตกรรมที่ใช้ในฟาร์มและเกิดผลลัพธ์เป็นที่ประจักษ์ การเลี้ยงโคขุนต้นทุนต่ำด้วยการนำวัสดุการเกษตรในพื้นที่

วันที่ 22 สิงหาคม 2562 คณะนักวิจัยโครงการพัฒนาระบบนวัตกรรมเชื่อมโยงสู่การทำแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ จาก สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว) เข้าสำรวจนวัตกรรมสำคัญของประเทศเพื่อศึกษาศักยภาพในการนำไปขยายผลในแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยในภาคเหนือเข้าศึกษาที่จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดพะเยาได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษา 1 แห่ง คือ สุนิสาฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มเลี้ยงโคขุนคุณภาพของคุณสุริยะ ทองสา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โชค โสรัจกุล หัวหน้าทีมวิจัย คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมสรุปประเด็นสำคัญของนวัตกรรมที่ใช้ในฟาร์มนี้และเกิดผลลัพธ์เป็นที่ประจักษ์ คือ การเลี้ยงโคขุนต้นทุนต่ำด้วยการนำวัสดุการเกษตรในพื้นที่ เช่น มันสำปะหลัง ฟักทอง กล้วย เศษสับปะรด และ เปลือกข้าวโพด มาหมักเพิ่มโภชนะด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่พัฒนาขึ้น (UP1 และ UP2) และประกอบเป็นสูตรอาหารเพื่อเลี้ยงโคขุน โดยได้รับทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก สวทช.ภาคเหนือ ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตโคขุนคุณภาพได้เกรดไขมันแทรกตรงความต้องการของตลาดระดับสูง และลดต้นทุนด้านอาหารสัตว์ให้เกษตรกรได้กว่า 30% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้อาหารผสมสำเร็จรูป ปัจจุบันได้มีการขยายผลของนวัตกรรมดังกล่าวนี้ไปสู่เกษตรกรในเขตภาคเหนือหลายแห่ง 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  คุกกี้