คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ จัดการ " เสวนารับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสําหรับการผลิตกระบือคุณภาพเพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ” "

354 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ จัดการ " เสวนารับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสําหรับการผลิตกระบือคุณภาพเพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ” "

ภาคบ่าย วันที่ 23 มิถุนายน 2565) ออนไลน์กับทีมวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยาในเวทีรายงานความก้าวหน้ารอบ 3 เดือนและเสวนารับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายชุมชนนวัตกรรมสําหรับการผลิตกระบือคุณภาพเพื่อการค้าภายในและต่างประเทศ” ที่มี ผศ.ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สังกัดคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหัวหน้าโครงการภายใต้กรอบวิจัยชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากแหล่งทุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ปีงบประมาณ 2565



กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอบทานบริบทและโจทย์พื้นที่ การวางเป้าหมายการทำงานร่วมกันตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกระบือใน 10 ตำบล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวันนี้มาร่วมเวทีอย่างคึกคักทั้งออนไซด์ ที่ห้องประชุม คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา และออนไลน์ อาทิ ภาครัฐ ได้แก่ นายชัยณรงค์ วงศ์สรรค์ ผู้แทนศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เชียงราย นายวิรัลพัชร อวิรุทธพาณิชย์ ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและบํารุงพันธุ์สัตว์พะเยา น.สพ. พืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ผู้แทนท้องที่ ท้องถิ่น ได้แก่ นายสุเมธี คําลือ นายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลเชียงม่วน นายสมพงษ์ อินต๊ะชัยวงค์ กํานันตําบลป่าแดด อําเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และนาย วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส. เขต 2 จังหวัด พะเยา ประธานคณะทํางานด้านนโยบายการเกษตร พรรคเพื่อไทย โดยได้รับเกียรติจากศ.ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา มาเป็นประธานเปิดการประชุม



ในเวทีได้มีการนำเสนอข้อมูลที่โครงการได้วิเคราะห์บริบทการผลิตกระบือในภาพรวมและในพื้นที่เป้าหมาย 10 ตำบล ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ พะเยาและเชียงราย ปัญหา โอกาส และแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ เทคโนโลยีพร้อมใช้ พื้นที่เรียนรู้และนวัตกร ที่มีการเติมเต็มจากผู้ร่วมเวทีที่น่าจะทำให้ได้เป้าหมายและแนวทางการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องที่ชัดเจนและพร้อมในการขับเคลื่อนการทำงานไปสู่เป้าหมายระบบการผลิตกระบือคุณภาพเชิงพาณิชย์ที่ยังผลต่อเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ #ระบบการผลิตกระบือคุณภาพ #ชุมชนนวัตกรรม #มหาวิทยาลัยพะเยา #ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  คุกกี้