200 จำนวนผู้เข้าชม |
On July 7, 2024, the Department of Agricultural Technology, School of Agriculture and Natural Resources, University of Phayao, welcomed Mr. Chen Meng Qi, a master's student from the Department of Entomology, College of Agriculture and Natural Resources, National Chung Hsing University (NCHU), Taichung, Taiwan. His visit was part of a research exchange program, and the reception was led by Asst. Prof. Dr. Rawisara Ruenwai, Head of the Department, along with faculty members.
The Department is actively fostering academic collaborations with international partner institutions, particularly with NCHU. As part of this partnership, an annual student exchange program is planned to provide students with opportunities to enhance their research skills, academic development, and global competencies.
In addition, the Department member is advancing research in key areas related to honey bee and economic insect production, focusing on improving rearing efficiency, value-added processing, and sustainable utilization of insect resources such as honey bees, rhinoceros beetles, and edible insects. This research emphasizes biotechnology and the development of low-cost nutritional innovations, supported by the Science, Research and Innovation Fund (TSRI) under the 2025 Research and Innovation Plan on Reducing Risks and Impacts of Natural Disasters and Climate Change on Economic Animals.
---------------------------------------------------
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2567 สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ให้การต้อนรับ Mr. Chen Meng Qi นักศึกษาระดับปริญญาโทจาก Department of Entomology, College of Agriculture and Natural Resources, National Chung Hsing University (NCHU) เมืองไถจง ประเทศไต้หวัน
ในโอกาสเดินทางมาแลกเปลี่ยนด้านงานวิจัย โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิสรา รื่นไวย์ หัวหน้าสาขาวิชา พร้อมด้วยคณาจารย์ให้การต้อนรับ. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มีแผนส่งเสริมความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรต่างประเทศ โดยเฉพาะ NCHU ซึ่งจะมีการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศเป็นประจำทุกปี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านวิจัยและทักษะสากลให้แก่นิสิต พร้อมกันนี้ ยังมีการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านการผลิตผึ้งพันธุ์และแมลงเศรษฐกิจ เช่น ผึ้งพันธุ์ ด้วงกว่างและแมลงกินได้ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมอาหารเสริมต้นทุนต่ำ ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน ววน. ในแผนวิจัยเพื่อรับมือกับผลกระทบจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสัตว์เศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2568.