นิสิตเกษตรฯ ผ่านการคัดเลือกเป็นทีมตัวแทนมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมเงินสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 10,000 บาท ภายใต้โครงการ "UP RESEARCH MARKET ครั้งที่ 9"

283 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นิสิตเกษตรฯ ผ่านการคัดเลือกเป็นทีมตัวแทนมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมเงินสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 10,000 บาท ภายใต้โครงการ "UP RESEARCH MARKET ครั้งที่ 9"

วันที่ 18 กันยายน 2564 ทีม Tricho UP นิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยพะเยา ผ่านการคัดเลือกเป็นทีมตัวแทนมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมเงินสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 10,000 บาท ภายใต้โครงการ "UP RESEARCH MARKET ครั้งที่ 9" โดยภายในทีมมีนิสิต 3 คน ได้แก่ 1.นางสาวธันยพร ยานะวงษ์, 2.นายอภิวิชญ์ คำเงิน, 3.นายเดชจรูญ เรืองฤทธิ์, และอาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก เข้าร่วมคัดเลือกโครงการดังกล่าวฯ

ทั้งนี้ประเทศไทยของเราก็ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการผลิตพืช ในประเทศไทยมีการผลิตพืช ผัก ผลไม้ และการปลูกไม้ประดับ สำหรับรับประทานและการปลูกเพื่อธุรกิจ ในการปลูกพืชมักพบปัญหาด้านการเจริญเติบโต ด้านโรคพืชต่างๆ ด้านการใช้สารเคมีในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การโดยปัจจุบันยังมีการใช้สารเคมี เป็นจำนวนมากในการผลิตพืช โดยปี 2563 พบว่ามีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรจากปี 2562 กว่า 4 หมื่นตัน ทั้งนี้ยังมีการใช้สารเคมีทางเกษตรกว่า 700,000 ครัวเรือน เป็นร้อยล่ะ 25.60 ในปีเดียวกัน และมีแนวโน้มการนำเข้าสารเคมีที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี (สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยบริการสาธารณสุข) เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง ทำให้เกษตรกรประสบกับปัญหาการขาดทุน นอกจากนี้ปัญหาเรื่องสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ยังเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก และมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Tricho UP เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากกลุ่ม Tricho UP ซึ่งเป็นการนำราเอนโดไฟท์ Trichoderma phayaoense ซึ่งเป็นราเอนโดไฟท์ชนิดใหม่ของโลก (New species) ที่แยกได้จากนสาบเสือ โดยเป็นราที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเจริญของพืช ซึ่งสามารถสร้างกรดอินโดล-3-แอซีติก (Indole-3-acetic acid: IAA) และมีความเป็นเชื้อปฏิปักษ์ (antagonistic fungi) สามารถควบคุม ป้องกันการเกิดโรคในพืช โดยมีการศึกษาผลดีในพืชหลาย ๆ ชนิด อาทิเช่น ข้าว เมล่อน แคนตาลูป คะน้า พริก และพืชประดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแคคตัส หรือไม้บอนไซ เป็นต้น ทั้งนี้จะนำเชื้อรามาผสมกับวัสดุเพาะขยายและวัสดุประสานที่มีคุณประโยชน์ต่อพืชในทุก ๆ ด้าน ที่จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ป้องกันโรคพืชได้แก่โรคโคนเน่ารากเน่าในพืชตะกูลแตง โรคใบใหม้ในข้าว และกำจัดโรคพืช อีกทั้งยังตอบโจทย์ในด้านการนำไปใช้ทั้งชนิดเม็ด และการละลายน้ำ

จากปัญหาเหล่านี้จึงการค้นคว้าหรือวิจัยต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยทาง Tricho UP เป็นกลุ่มวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านปุ๋ยชีวภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการเพื่อลดปัญหาต่าง ๆ อย่างควบคุมและตรงจุดที่ได้ สามารถตอบโจทย์ (3 in 1) ต่อความต้องการทั้งกลุ่มรักสุขภาพ และต้องการลดการใช้สารเคมีในการเกษตร 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  คุกกี้